เฟิร์นนาคราช
เรามาพูดถึงใบไม้ที่ใช้ในการจัดแจกันดอกๆม้กันบ้างนะครับ ฟลังจากที่เราได้พูดเรื่องดอกไม้กันไปพอสมควรแล้วใน บทความแรกๆ ตอนนี้จะเป็นเรื่องของ ใบนาคราช และ สายพันธุ์ของเฟิร์น
เฟิร์นนาคราช เป็นเฟิร์นที่มีเหง้าเลื้อยไปได้ไกล ทั้งบนพื้นดิน โขดหิน และบนต้นไม้ มักอยู่รวมกับพวกมอส หรือบนเศษซากใบไม้กิ่งไม้ หรือบนพื้นทรายที่มีอินทรีย์วัตถุมาก มักพบอยู่ใกล้บริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ได้รับแสงแดดบ้างบางชั่วโมงในแต่ละวัน เป็นเฟิร์นที่ใบสวยงาม เพิ่มลวดลายประดับป่าธรรมชาติให้ดูสวยงาม
เหง้าของนาคราช บางครั้งพบยึดเกาะติดกับต้นไม้ หรือหินที่มันเกาะอยู่อย่างแน่นหนา ด้วยระบบรากที่ออกจากเหง้าของมัน และบางครั้งจะเห็นยอดเหง้าชูขึ้นไปในอากาศ เหง้าของนาคราชปกคลุมด้วยเกล็ด หรือขนจำนวนมาก ทำให้มองดูคล้ายเท้าของสัตว์ ส่วนก้านใบ เป็นก้านผอมยาวสีเขียว โคนก้านสีดำ ไม่มีขน ใบมีทั้งชนิดหยาบ และละเอียด รูปทรงใบเป็นสามเหลี่ยม หนาคล้ายหนัง ส่วนใหญ่ใบมีสีเขียว เป็นมัน แถวของอับสปอร์ เกิดบนเส้นใบใกล้ขอบใบย่อย อับสปอร์มีรูปร่างเป็นถ้วยกลม ทีเยื่ออินดูเซียติดที่ส่วนโคนและด้านข้าง
เฟิร์นสกุลนี้มีจำนวนราว 40 ชนิด พบทั้งในป่าเขตร้อน ไปจนถึงป่าเขตหนาว กระจายพันธุ์อยู่ใน เอเซีย อาฟริกา ออสเตเรีย โพลีนีเซีย และ ยุโรปฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ โดยมากมักพบอยู่ตามชายป่าเขตฝน ที่ใกล้ลำธาร บางชนิดเจริญเติบดตตลอดทั้งปี และมีบางชนิดพักตัวในช่วงหน้าแล้ง บางชนิดพักตัวทิ้งใบหลุดร่วงจนหมด แต่บางชนิดเติบโตอย่างช้า ๆ
เฟิร์นนาคราช นอกจากจะมีคุณค่าในแง่ของไม้ปลูกประดับแล้ว ยังสามารถทำเป็นไม้ตัดใบ นำมาประดับทั้งใบสด และใบแห้ง หากไปที่ตลาดดอกไม้แถวปากคลองตลาด เราจะเห็นมีใบของเฟินนาคราชมาวางจำหน่ายด้วย
วงศ์ Polypodiaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Davallia solida Sw.
ชื่อสามัญ Giant Hare's-Foot, Polynesian Foot Fern
ชื่ออื่น พญานาคราช ว่านนาคราช เนระพูสี นาคราชใบหยาบ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เหง้าเลื้อยยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-12 มม. มีเกล็ดปกคลุมตลอด เกล็ดรูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม ค่อยๆ สอบแคบสู่ส่วนปลาย ขนาด ยาว
4-5 มม. ส่วนปลายบาง สีน้ำตาลซีด มีขนแน่นและยาว 1 มม. ขนหลุดร่วงง่าย ส่วนโคนของขนสีน้ำตาลหรือเกือบดำ เหลื่อมซ้อนกัน ที่บริเวณผิวของเหง้าแก่ จะเหลือเพียงส่วนโคนเกล็ดติดอยู่ ขนาดยาว 3 มม. ก้านใบ สีฟางอ่อนหรือสีน้ำตาล ยาวได้ถึง 15 ซม. ใบ รูปกึ่งสามเหลี่ยม ขนาดใบ 30 ซม. ทั้งกว้างและยาว ใบประกอบขนนก 3 ชั้น ใบย่อย เป็นคู่ออกเยื้องกัน ใบย่อยล่างใหญ่สุด รูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม มีก้านเห็นได้ชัด ใบย่อยมีก้านใบ ใบรูปขอบขนาน โคนรูปลิ่ม ค่อยๆ สอบเรียวสู่ปลาย ใบย่อยเล็ก ช่วงบน หรือปลายใบ รูปขอบขนานอย่างแคบ ไม่มีก้านใบ โคนใบรูปลิ่มอย่างแคบ ปลายใบแหลมปานกลาง แกนใบเป็นร่องเห็นได้ชัด ร่องเป็นครีบไปถึงใบถัดไป เส้นใบมองเห็นได้ แต่ไม่นูนขึ้น อับสปอร์ อยู่ที่ปลายเส้นใบ ที่ริมขอบของส่วนปลายสุด ขนาด ยาวและกว้าง 1.5 มม. (เต็ม, 2544 ; Fernsiam.com, 2544)
เฟิร์น
เฟิร์นเป็นพืชมีท่อลำเลียงที่แตกต่างจากไลโคไฟตา (lycophyte) ตรงที่มีใบแท้จริง (megaphylls) ต่างจากพืชมีเมล็ด (พืชเมล็ดเปลือยและพืชดอก) ในส่วนระบบสืบพันธุ์ไม่มีดอกและเมล็ด เฟิร์นมีวงจรชีวิตแบบสลับที่มีระยะสปอโรไฟต์ (Sporophyte) และแกมีโทไฟต์ (Gametophyte)
ระยะสปอโรไฟต์
ระยะสปอโรไฟต์ คือ ระยะที่เฟิร์นสร้างสปอร์ มีโครโมโซม 2 ชุด
ไซโกตเจริญเป็นต้นสปอโรไฟต์โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส อยู่ในรูปของเฟิร์นทีมี ราก ลำต้น และใบที่แท้จริง
ต้นสปอโรไฟต์เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เพื่อสร้างสปอร์
ระยะแกมีโทไฟต์
ระยะแกมีโทไฟต์ คือ ระยะที่เฟิร์นสร้างเซลล์สืบพันธุ์ มีโครโมโซมชุดเดียว
สปอร์เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เจริญเป็นต้นเฟิร์นในระยะแกมีโทไฟต์ หรือเฟิร์นที่อยูในรูป
โพรแทลลัส
โพรแทลลัสเกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นเซลล์สืบพันธุ์ ได้แก่ ไข่ และสเปิร์ม
สเปิร์มเข้าผสมกับเซลล์ไข่บนโพรแทลลัส
หลังจากสเปิร์มเข้าผสมกับเซลล์ไข่จะได้ไซโกตที่มีโครโมโม 2 ชุด เจริญเป็นเฟิร์นในระยะสปอโรไฟต์ต่อไป
ที่มา : Wikipedia
เฟิร์นสามารถแยกได้ 7 ประเภท ตามถิ่นอาศัย
กลุ่มเฟินดิน-ทนแดด (terrestrial-sun-ferns)
กลุ่มเฟินดิน-ชอบร่มเงา (terrestrial-shade-ferns)
กลุ่มเฟินเถาเลื้อย (climbing ferns)
กลุ่มเฟินเกาะอาศัย หรือไม้อากาศ (epiphytes)
กลุ่มเฟินผา (lithophytic ferns หรือ rock ferns)
กลุ่มเฟินน้ำ (aquatic ferns)
กลุ่มเฟินภูเขา (mountain fern)
การปลูกเลี้ยง เฟิร์นนาคราช
ปลูกเลี้ยงในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ได้แสงแดด 50% หรือแสงที่ได้พรางไว้บางส่วน หากต้องการนำมาปลูกเลี้ยงในอาคาร ควรหมั่นพ่นฝอยละอองน้ำให้บ่อย เพื่อให้มีความชื้นมากๆ
ภาชนะปลูก : เหมาะที่จะปลูกเป็นกระถางแขวนได้ดี เพื่อให้สามารถได้รับแสง และอากาศถ่ายเทสะดวก โดยได้ความชื้นที่ระเหยขึ้นมาจากด้านล่าง หรือจะใช้กะบะไม้แขวน ก็ได้ หรือหากจะปลูกเป็นกระถางตั้งก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน โดยเลือกกระถางระบายน้ำได้ดี อย่างกระถางปลูกกล้วยไม้ ที่มีเจาะรูด้านข้าง
นอกจากนี้ ยังเคยเห็นบางคนเอาปลูกลงในไห ปากกว้าง มีเหง้าเลื้อย ยาวห้อยออกมาจากไห ดูสวยงามดี เพราะเสน่ห์ของเฟินนาคราชอยู่ที่เหง้ายาวๆ และมีขนปกคลุม
เครื่องปลูก เลือกวัสดุที่โปร่งและระบายน้ำได้ดี สามารถเก็บความชื้นได้ดี เช่น รากชายผ้าสีดา มอส หรือพีทมอส แต่หากใช้กาบมะพร้าวสับ ต้องคอยสังเกต เพราะหากปลูกไปนานๆ กาบมะพร้าวเสื่อม จะทำให้อุ้มน้ำได้มากเกินไป ทำให้เหง้าของเฟินเน่าได้
การให้น้ำ ให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากอากาศแห้งมาก โดยรดให้ชุ่มทั่วบริเวณที่ปลูกเลี้ยง จะทำให้มีความชื้นในอากาศ ทำให้เฟินนาคราชสามารถโตได้เร็ว แต่หากในช่วงที่อากาศเย็น ไม่ควรรดน้ำบ่อย เพราะเฟินนาคราชจะพักตัวในหน้าหนาว ควรรดเพียงเพื่อรักษาความชื้นตลอดฤดูเท่านั้น
การขยายพันธุ์ ทำได้ทั้งเพาะสปอร์และชำเหง้า สามารถทำได้ โดยตัดเหง้าเป็นท่อนด้วยมีดคม ให้มีตาใบอย่างน้อย 2-3 ตา และหากมีรากติดไปด้วยยิ่งดี นำไปชำไว้กับดินทราย หรือทรายผสมใบไม้ผุ โดนฝังเหง้าลงประมาณครึ่งหนึ่งของความหนา อย่ากลบเหง้าจนมิด กรณีที่มีใบติดมาด้วย อาจใช้ลวดกดทับพยุงไม่ให้ก้านใบล้ม
ข้อควรระวัง : ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะ โดยเฉพาะที่ยอดเหง้า อีกทั้งสภาพอากาศที่แห้ง หรือความชื้นไม่พอจะทำให้ปลายยอดเหง้าเหี่ยวแห้งได้ อีกทั้งแมลงชอบกัดกินใบและยอดเหง้าของนาคราชด้วย

เฟิร์นนาคราช เป็นเฟิร์นที่มีเหง้าเลื้อยไปได้ไกล ทั้งบนพื้นดิน โขดหิน และบนต้นไม้ มักอยู่รวมกับพวกมอส หรือบนเศษซากใบไม้กิ่งไม้ หรือบนพื้นทรายที่มีอินทรีย์วัตถุมาก มักพบอยู่ใกล้บริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ได้รับแสงแดดบ้างบางชั่วโมงในแต่ละวัน เป็นเฟิร์นที่ใบสวยงาม เพิ่มลวดลายประดับป่าธรรมชาติให้ดูสวยงาม
เหง้าของนาคราช บางครั้งพบยึดเกาะติดกับต้นไม้ หรือหินที่มันเกาะอยู่อย่างแน่นหนา ด้วยระบบรากที่ออกจากเหง้าของมัน และบางครั้งจะเห็นยอดเหง้าชูขึ้นไปในอากาศ เหง้าของนาคราชปกคลุมด้วยเกล็ด หรือขนจำนวนมาก ทำให้มองดูคล้ายเท้าของสัตว์ ส่วนก้านใบ เป็นก้านผอมยาวสีเขียว โคนก้านสีดำ ไม่มีขน ใบมีทั้งชนิดหยาบ และละเอียด รูปทรงใบเป็นสามเหลี่ยม หนาคล้ายหนัง ส่วนใหญ่ใบมีสีเขียว เป็นมัน แถวของอับสปอร์ เกิดบนเส้นใบใกล้ขอบใบย่อย อับสปอร์มีรูปร่างเป็นถ้วยกลม ทีเยื่ออินดูเซียติดที่ส่วนโคนและด้านข้าง
เฟิร์นสกุลนี้มีจำนวนราว 40 ชนิด พบทั้งในป่าเขตร้อน ไปจนถึงป่าเขตหนาว กระจายพันธุ์อยู่ใน เอเซีย อาฟริกา ออสเตเรีย โพลีนีเซีย และ ยุโรปฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ โดยมากมักพบอยู่ตามชายป่าเขตฝน ที่ใกล้ลำธาร บางชนิดเจริญเติบดตตลอดทั้งปี และมีบางชนิดพักตัวในช่วงหน้าแล้ง บางชนิดพักตัวทิ้งใบหลุดร่วงจนหมด แต่บางชนิดเติบโตอย่างช้า ๆ
เฟิร์นนาคราช นอกจากจะมีคุณค่าในแง่ของไม้ปลูกประดับแล้ว ยังสามารถทำเป็นไม้ตัดใบ นำมาประดับทั้งใบสด และใบแห้ง หากไปที่ตลาดดอกไม้แถวปากคลองตลาด เราจะเห็นมีใบของเฟินนาคราชมาวางจำหน่ายด้วย

วงศ์ Polypodiaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Davallia solida Sw.
ชื่อสามัญ Giant Hare's-Foot, Polynesian Foot Fern
ชื่ออื่น พญานาคราช ว่านนาคราช เนระพูสี นาคราชใบหยาบ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เหง้าเลื้อยยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-12 มม. มีเกล็ดปกคลุมตลอด เกล็ดรูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม ค่อยๆ สอบแคบสู่ส่วนปลาย ขนาด ยาว
4-5 มม. ส่วนปลายบาง สีน้ำตาลซีด มีขนแน่นและยาว 1 มม. ขนหลุดร่วงง่าย ส่วนโคนของขนสีน้ำตาลหรือเกือบดำ เหลื่อมซ้อนกัน ที่บริเวณผิวของเหง้าแก่ จะเหลือเพียงส่วนโคนเกล็ดติดอยู่ ขนาดยาว 3 มม. ก้านใบ สีฟางอ่อนหรือสีน้ำตาล ยาวได้ถึง 15 ซม. ใบ รูปกึ่งสามเหลี่ยม ขนาดใบ 30 ซม. ทั้งกว้างและยาว ใบประกอบขนนก 3 ชั้น ใบย่อย เป็นคู่ออกเยื้องกัน ใบย่อยล่างใหญ่สุด รูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม มีก้านเห็นได้ชัด ใบย่อยมีก้านใบ ใบรูปขอบขนาน โคนรูปลิ่ม ค่อยๆ สอบเรียวสู่ปลาย ใบย่อยเล็ก ช่วงบน หรือปลายใบ รูปขอบขนานอย่างแคบ ไม่มีก้านใบ โคนใบรูปลิ่มอย่างแคบ ปลายใบแหลมปานกลาง แกนใบเป็นร่องเห็นได้ชัด ร่องเป็นครีบไปถึงใบถัดไป เส้นใบมองเห็นได้ แต่ไม่นูนขึ้น อับสปอร์ อยู่ที่ปลายเส้นใบ ที่ริมขอบของส่วนปลายสุด ขนาด ยาวและกว้าง 1.5 มม. (เต็ม, 2544 ; Fernsiam.com, 2544)
เฟิร์น
เฟิร์นเป็นพืชมีท่อลำเลียงที่แตกต่างจากไลโคไฟตา (lycophyte) ตรงที่มีใบแท้จริง (megaphylls) ต่างจากพืชมีเมล็ด (พืชเมล็ดเปลือยและพืชดอก) ในส่วนระบบสืบพันธุ์ไม่มีดอกและเมล็ด เฟิร์นมีวงจรชีวิตแบบสลับที่มีระยะสปอโรไฟต์ (Sporophyte) และแกมีโทไฟต์ (Gametophyte)
ระยะสปอโรไฟต์
ระยะสปอโรไฟต์ คือ ระยะที่เฟิร์นสร้างสปอร์ มีโครโมโซม 2 ชุด
ไซโกตเจริญเป็นต้นสปอโรไฟต์โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส อยู่ในรูปของเฟิร์นทีมี ราก ลำต้น และใบที่แท้จริง
ต้นสปอโรไฟต์เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เพื่อสร้างสปอร์
ระยะแกมีโทไฟต์
ระยะแกมีโทไฟต์ คือ ระยะที่เฟิร์นสร้างเซลล์สืบพันธุ์ มีโครโมโซมชุดเดียว
สปอร์เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เจริญเป็นต้นเฟิร์นในระยะแกมีโทไฟต์ หรือเฟิร์นที่อยูในรูป
โพรแทลลัส
โพรแทลลัสเกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นเซลล์สืบพันธุ์ ได้แก่ ไข่ และสเปิร์ม
สเปิร์มเข้าผสมกับเซลล์ไข่บนโพรแทลลัส
หลังจากสเปิร์มเข้าผสมกับเซลล์ไข่จะได้ไซโกตที่มีโครโมโม 2 ชุด เจริญเป็นเฟิร์นในระยะสปอโรไฟต์ต่อไป
ที่มา : Wikipedia
เฟิร์นสามารถแยกได้ 7 ประเภท ตามถิ่นอาศัย
กลุ่มเฟินดิน-ทนแดด (terrestrial-sun-ferns)
กลุ่มเฟินดิน-ชอบร่มเงา (terrestrial-shade-ferns)
กลุ่มเฟินเถาเลื้อย (climbing ferns)
กลุ่มเฟินเกาะอาศัย หรือไม้อากาศ (epiphytes)
กลุ่มเฟินผา (lithophytic ferns หรือ rock ferns)
กลุ่มเฟินน้ำ (aquatic ferns)
กลุ่มเฟินภูเขา (mountain fern)

การปลูกเลี้ยง เฟิร์นนาคราช
ปลูกเลี้ยงในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ได้แสงแดด 50% หรือแสงที่ได้พรางไว้บางส่วน หากต้องการนำมาปลูกเลี้ยงในอาคาร ควรหมั่นพ่นฝอยละอองน้ำให้บ่อย เพื่อให้มีความชื้นมากๆ
ภาชนะปลูก : เหมาะที่จะปลูกเป็นกระถางแขวนได้ดี เพื่อให้สามารถได้รับแสง และอากาศถ่ายเทสะดวก โดยได้ความชื้นที่ระเหยขึ้นมาจากด้านล่าง หรือจะใช้กะบะไม้แขวน ก็ได้ หรือหากจะปลูกเป็นกระถางตั้งก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน โดยเลือกกระถางระบายน้ำได้ดี อย่างกระถางปลูกกล้วยไม้ ที่มีเจาะรูด้านข้าง
นอกจากนี้ ยังเคยเห็นบางคนเอาปลูกลงในไห ปากกว้าง มีเหง้าเลื้อย ยาวห้อยออกมาจากไห ดูสวยงามดี เพราะเสน่ห์ของเฟินนาคราชอยู่ที่เหง้ายาวๆ และมีขนปกคลุม
เครื่องปลูก เลือกวัสดุที่โปร่งและระบายน้ำได้ดี สามารถเก็บความชื้นได้ดี เช่น รากชายผ้าสีดา มอส หรือพีทมอส แต่หากใช้กาบมะพร้าวสับ ต้องคอยสังเกต เพราะหากปลูกไปนานๆ กาบมะพร้าวเสื่อม จะทำให้อุ้มน้ำได้มากเกินไป ทำให้เหง้าของเฟินเน่าได้
การให้น้ำ ให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากอากาศแห้งมาก โดยรดให้ชุ่มทั่วบริเวณที่ปลูกเลี้ยง จะทำให้มีความชื้นในอากาศ ทำให้เฟินนาคราชสามารถโตได้เร็ว แต่หากในช่วงที่อากาศเย็น ไม่ควรรดน้ำบ่อย เพราะเฟินนาคราชจะพักตัวในหน้าหนาว ควรรดเพียงเพื่อรักษาความชื้นตลอดฤดูเท่านั้น
การขยายพันธุ์ ทำได้ทั้งเพาะสปอร์และชำเหง้า สามารถทำได้ โดยตัดเหง้าเป็นท่อนด้วยมีดคม ให้มีตาใบอย่างน้อย 2-3 ตา และหากมีรากติดไปด้วยยิ่งดี นำไปชำไว้กับดินทราย หรือทรายผสมใบไม้ผุ โดนฝังเหง้าลงประมาณครึ่งหนึ่งของความหนา อย่ากลบเหง้าจนมิด กรณีที่มีใบติดมาด้วย อาจใช้ลวดกดทับพยุงไม่ให้ก้านใบล้ม
ข้อควรระวัง : ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะ โดยเฉพาะที่ยอดเหง้า อีกทั้งสภาพอากาศที่แห้ง หรือความชื้นไม่พอจะทำให้ปลายยอดเหง้าเหี่ยวแห้งได้ อีกทั้งแมลงชอบกัดกินใบและยอดเหง้าของนาคราชด้วย
